ทำบันทึกข้อตกลงยอมความที่สถานีตำรวจ สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้อีกหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2563 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 จำเลยให้การรับสารภาพ ระหว่างพิจารณา นาย ป. โดยนางสาว ห. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายสุริยาผู้ตายรับรองว่าเป็นบุตรยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ 63,580 บาท ค่ารักษาพยาบาล 17,453 บาท และค่าขาดไร้อุปการะปีละ 150,000 บาท จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 600,000 บาท รวมเป็นเงิน 681,033 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องที่ 1 และนางสงบ...
สิทธิในการอุทธรณ์ค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา: ความสำคัญและความเข้าใจ ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทั้งผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา ทั้งสองฝ่ายต้องมีความเข้าใจถึงขั้นตอนและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา โดยเริ่มจากความหมายและวัตถุประสงค์ ตามด้วยวิธีการคำนวณ และปัจจัยที่ควรพิจารณา ความหมายของค่าสินไหมทดแทน ค่าสินไหมทดแทนคือการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหา การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนี้สามารถมาจากการตัดสินคดีอาญาหรือคำสั่งของศาล ความเสียหายที่ถูกชดใช้นั้นอาจรวมถึงทรัพย์สินหรือสิ่งของที่ถูกปล้น ค่าเสียหายต่ออาชีพหรือชื่อเสียง ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ และค่าความทุกข์ทรมานใจ วัตถุประสงค์ของค่าสินไหมทดแทน วัตถุประสงค์ของค่าสินไหมทดแทนก็คือ การเยียวยาผู้เสียหายโดยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย โดยคำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8725/2563 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 92, 288 และเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ระหว่างพิจารณา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล 79,445 บาท ค่าขาดรายได้ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพการงานได้ในระหว่างรักษาตัวและพักฟื้นร่างกาย 7 เดือน เดือนละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 700,000...
วิธีคำนวณค่าเสียหายจากราคาและค่าเสื่อมรถยนต์ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร ค่าเสื่อมรถยนต์จากอุบัติเหตุ ค่าเสื่อมรถยนต์หลังจากเกิดอุบัติเหตุเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ประกันและเจ้าของรถยนต์ต้องพิจารณา เมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุและได้รับความเสียหาย การประเมินความเสียหายและค่าเสื่อมของรถยนต์สามารถช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการซ่อมแซมหรือการเปลี่ยนรถยนต์ใหม่ ในบทความนี้ เราจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อค่าเสื่อมรถยนต์หลังจากเกิดอุบัติเหตุ 1.ระดับความเสียหายของรถยนต์: ความเสียหายจากอุบัติเหตุอาจส่งผลต่อค่าเสื่อมรถยนต์อย่างมาก รถยนต์ที่ได้รับความเสียหายมากอาจมีค่าเสื่อมสูงกว่ารถยนต์ที่ได้รับความเสียหายน้อย ความเสียหายที่ร้ายแรงอาจทำให้รถยนต์ถือเป็นรถยนต์เสียหายร้ายแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าเสื่อมอย่างรุนแรง 2.ยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์: ยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์มีความสำคัญในการคำนวณค่าเสื่อมรถยนต์หลังจากอุบัติเหตุ บางยี่ห้อและรุ่นอาจมีอัตราค่าเสื่อมที่ต่ำกว่ายี่ห้อและรุ่นอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อมูลค่าที่เหลือของรถ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2559 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 1,532,584 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และชำระค่าขาดประโยชน์วันละ 2,500 บาท นับแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2553 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 3 ชำระเงินค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 290,000 บาท โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 3 จากสารบบความ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่...
Seeking Damages in a Car Accident Lawsuit Introduction Car accidents are unfortunate events that can cause physical, emotional, and financial hardships for those involved. When a car accident occurs due to the negligence or carelessness of another driver, the victim may...
ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่ การฟ้องคดีประกันภัยเป็นกระบวนการที่ผู้เสียหายจากเหตุอุบัติเหตุ การเสียชีวิต หรือความเสียหายอื่นๆ สามารถยื่นฟ้องต่อบริษัทประกันภัยเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทน หากบริษัทประกันภัยไม่ยินยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ์หรือเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย การฟ้องคดีประกันภัยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้: 1.พิจารณาสิทธิ์ฟ้อง: ตรวจสอบสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย และตรวจสอบว่ามีข้อยุติหรือไม่ 2.เตรียมเอกสารและหลักฐาน: รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีประกันภัย อาทิเช่น รายงานการเกิดเหตุ, รายละเอียดความเสียหาย, และหลักฐานที่สนับสนุนความเสียหาย 3.สืบสวนและต่อรอง: ขอให้บริษัทประกันภัยสืบสวนเหตุการณ์และความเสียหาย หากสามารถตกลงกันได้ อาจไม่ต้องเปิดคดีฟ้อง 4.ยื่นฟ้องคดี: หากไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องคดีประกันภัยต่อศาล และปฏิบัติตามขั้นตอนการฟ้องที่กำหนด 5.การพิจารณาคดี: ซึ่งเป็นกระบวนตามขั้นตอนที่ศาลกำหนดและนำไปสู่กระบวนการตัดสิน ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่ มีคำพิพากษาศาลฎีกาวางหลักไว้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565 แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างคนต่างขับรถโดยประมาท แต่ความประมาทของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้อันมิอาจแบ่งแยกจากกันได้ จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291...
อายุความประกันภัยค้ำจุน มีอายุความกี่ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกเล็ก ได้ขับรถชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกลายเป็นคนพิการ จึงขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งที่โจทก์ต้องเสียไปแล้วและที่จะต้องเสียต่อไปในอนาคตเป็นเวลา 5 ปี   จำเลยทั้งสองให้การว่า เหตุที่เกิดรถชนไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง   ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คือ ค่ารถแท็กซี่ที่ภริยาโจทก์ต้องไปดูแลโจทก์ที่โรงพยาบาลเป็นเงิน 2,250 บาท ค่าจ้างคนดูแล 5,000 บาท ค่ายาและค่านวด 750 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท   โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปแล้ว และให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีกด้วย   ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็น 1,750 บาท และให้จำเลยร่วมกันจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีก 5,000 บาทแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น   โจทก์ฎีกาขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลให้อีก   จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์ให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลเป็น...
ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลในอนาคต แต่ตายก่อนกำหนด ต้องรับผิดเพียงใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2521 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกเล็ก ได้ขับรถชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกลายเป็นคนพิการ จึงขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งที่โจทก์ต้องเสียไปแล้วและที่จะต้องเสียต่อไปในอนาคตเป็นเวลา 5 ปี   จำเลยทั้งสองให้การว่า เหตุที่เกิดรถชนไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง   ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คือ ค่ารถแท็กซี่ที่ภริยาโจทก์ต้องไปดูแลโจทก์ที่โรงพยาบาลเป็นเงิน 2,250 บาท ค่าจ้างคนดูแล 5,000 บาท ค่ายาและค่านวด 750 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท   โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปแล้ว และให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีกด้วย   ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็น 1,750 บาท และให้จำเลยร่วมกันจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีก 5,000 บาทแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น   โจทก์ฎีกาขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลให้อีก   จำเลยทั้งสองฎีกาว่า...
อายุความฟ้องไล่เบี้ยจากลูกจ้าง ที่นายจ้างชดใช้แทน มีอายุความกี่ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 จำเลยได้ขับรถโดยสารประจำทางของโจทก์ไปในทางการที่จ้างด้วยความเร็วสูงพุ่งชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ช.บ. 43324 ด้วยความประมาท ทำให้รถยนต์คันดังกล่าวและรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิด โจทก์ในฐานะนายจ้างจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยเป็นค่าซ่อมรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ช.บ. 43324ให้แก่บริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันนี้ เป็นเงิน 26,500 บาท กับค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์เป็นเงิน 24,500 บาท ที่จ่ายให้แก่บริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัดรวมเป็นเงิน 51,000 บาท โดยจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยและได้หักค่าจ้าง 1,300บาท คงเหลือหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์อีก 49,700 บาทโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ขอให้พิพากษาบังคับจำเลยชำระเงิน49,700 บาท แก่โจทก์...
เพื่อนยืมรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ ผู้ให้ยืมไปดูที่สถานีตำรวจ ถือว่าได้รับรถคืนหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2522 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์ในสภาพเรียบร้อยถ้าส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 50,000 บาท ให้ใช้ค่าเสียหายวันละ 80 บาท จำเลยฎีกา   ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ปัญหาตามฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ได้ยืมรถจากโจทก์นั้น เห็นว่านายกล้วยไม้ ศรีดารณพ พยานโจทก์เบิกความยืนยันประกอบคำเบิกความของโจทก์ว่า จำเลยให้นายกล้วยไม้มายืมรถยนต์เพื่อเป็นพาหนะเดินทางไปทอดผ้าป่า นายกล้วยไม้ได้ติดต่อขอยืมรถจากโจทก์ และพาโจทก์ไปพบจำเลย เมื่อพบกันแล้วจำเลยได้พูดขอยืมรถจากโจทก์ คำเบิกความของโจทก์และนายกล้วยไม้ จำเลยก็รับอยู่ว่าจำเลยให้เงินนายกล้วยไม้ไปเติมน้ำมันรถในการเดินทาง เมื่อรถชนกันมีคนได้รับบาดเจ็บ จำเลยก็ช่วยค่ารักษาพยาบาลให้เหตุดังกล่าวประกอบข้ออ้างของโจทก์ให้มีน้ำหนักกว่าข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งมีแต่คำเบิกความของจำเลยแต่ผู้เดียว ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองที่ฟังว่าจำเลยยืมรถจากโจทก์ไปจริง   ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่ารถของโจทก์ที่จำเลยยืมไปเกิดบุบสลายเพราะความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 214 นั้น เห็นว่า การยืมใช้คงรูปผู้ยืมมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อได้ใช้สอยเสร็จ ตามมาตรา 640 หากจำเลยมีข้ออ้างว่าไม่ต้องคืนรถและใช้ค่าเสียหาย เพราะรถของโจทก์เกิดชนกับรถอื่นโดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายจำเลย อันเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 214 จำเลยก็ต้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้และนำสืบให้ฟังได้...
ร้องสอดให้มาเป็นจำเลยร่วม เมื่อพ้นกำหนดอายุความในคดีละเมิด สามารถทำได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2525 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาแต่มูลละเมิดรถยนต์ชนกันในฐานะเป็นนายจ้าง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 135,150 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ   จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยมิได้เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ชนกับรถโจทก์ และมิได้เป็นนายจ้างของผู้ขับขี่รถยนต์คันที่ชนกับรถยนต์ของโจทก์เหตุที่เกิดรถชนกันเป็นเพราะความประมาทของคนขับรถยนต์ของโจทก์ โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายมากเกินไป ขอให้ยกฟ้อง   ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัดทวีแสงพืชผลเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต   จำเลยร่วมให้การว่า รถยนต์คันที่ชนกับรถยนต์ของโจทก์เป็นของจำเลยร่วม คดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่มีการกระทำละเมิดเหตุที่รถชนกันเป็นเพราะความประมาทของลูกจ้างโจทก์ ค่าเสียหายโจทก์เรียกร้องมากเกินไป   ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า รถยนต์คันที่ชนรถยนต์ของโจทก์เป็นของจำเลยร่วมรวมทั้งคนขับก็เป็นลูกจ้างของจำเลยร่วม แต่โจทก์ขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเกินกว่า 1 ปีนับแต่วันละเมิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยและจำเลยร่วม โดยกำหนดค่าทนายความ สำหรับจำเลย 600 บาท และจำเลยร่วม 600 บาท   โจทก์อุทธรณ์   ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ   โจทก์ฎีกา   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์รู้ตัวจำเลยร่วมผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่มีการละเมิดนั้นเอง แต่โจทก์เพิ่งขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเมื่อวันที่...