ความประมาทเลินเล่อโดยที่มิใช่ความผิดของผู้เอาประกันบริษัทประกันจะปฏิเสธความรับผิดได้หรือไม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2557 เหตุที่รถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้สูญหายเกิดจากการกระทำของ ส. ที่ขับรถเข้าไปจอดเพื่อเข้าห้องน้ำโดยไม่ดับเครื่องยนต์จนมีคนลักเอารถไปได้ ซึ่งไม่ว่าการกระทำของ ส.จะเป็นเพียงการประมาทเลินเล่อหรือถึงขนาดเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม แต่ก็มิใช่การกระทำของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยโดยตรง จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคหนึ่ง และเมื่อธนาคาร ธ. ผู้รับประโยชน์ใช้สิทธิฟ้องบังคับโจทก์กับพวกให้คืนหรือใช้ราคารถยนต์กับชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อไปแล้วโดยไม่ใช้สิทธิเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย อันมีผลทำให้โจทก์ยังคงเสียหายโดยไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลย ดังนี้ โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้โดยตรงตามสิทธิเรียกร้องในสัญญาประกันภัย กล่าวโดยสรุป ความประมาทเลินเล่อโดยที่มิใช่ความผิดของผู้เอาประกัน บริษัทประกันจะปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ดังนี้ ผู้เอาประกันในฐานะคู่สัญญากับบริษัทตามสัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้บริษัทประกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันได้โดยตรงตามสิทธิเรียกร้องในสัญญาประกันภัย ปรึกษาทีมงานทนายความ ทนายอธิป...

ฟ้องและนำสืบวันทำละเมิดต่างวันกัน มีผลเรื่องความรับผิดหรือไม่

ฟ้องและนำสืบวันทำละเมิดต่างวันกัน มีผลเรื่องความรับผิดหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2523 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดแก่โจทก์ 61,000 บาท กับดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ค่าเสียหายเป็น 101,000 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกา   ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ในประเด็นแรกที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายประมาทนั้น ปรากฏตามข้อนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ได้เคยให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนไว้แล้วในวันเกิดเหตุนั้นเองว่า ตนประมาทจริง เพราะคิดว่าจะขับรถผ่านโจทก์ซึ่งกำลังเดินข้ามถนนไปได้ จึงได้เร่งความเร็วรถเพื่อจะขับผ่านไป แต่ไม่พ้นจึงได้เกิดชนขึ้น...

การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาสามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 3267/2562 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ส่งพินัยกรรมไปตรวจพิสูจน์ คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการสืบพยาน และคำสั่งเกี่ยวกับกาคัดค้านการทำหน้าที่ของผู้พิพากษา ล้วนเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 26 มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลขั้นต้นที่ได้รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ และแม้โจทก์อ้างว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวอันถือว่าโจทก์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ครบกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน...

ผู้มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ผู้มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2558 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 224,416.01 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 11...

ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนหรือไม่

ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260/2558 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหาย รวมเป็นเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง 1,074,794.52 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 1,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสี่จะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การทำนองเดียวกันขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 174,000 บาท...

ค่าเสียหายเบื้องต้นในความรับผิดตามพรบ. ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

ค่าเสียหายเบื้องต้นในความรับผิดตามพรบ. ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2565 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 265,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภค พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นสามีชอบด้วยกฎหมายของนางทิพวรรณ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเฉพาะการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535...

ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่

ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่ การฟ้องคดีประกันภัยเป็นกระบวนการที่ผู้เสียหายจากเหตุอุบัติเหตุ การเสียชีวิต หรือความเสียหายอื่นๆ สามารถยื่นฟ้องต่อบริษัทประกันภัยเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทน หากบริษัทประกันภัยไม่ยินยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ์หรือเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย การฟ้องคดีประกันภัยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้: 1.พิจารณาสิทธิ์ฟ้อง: ตรวจสอบสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย และตรวจสอบว่ามีข้อยุติหรือไม่ 2.เตรียมเอกสารและหลักฐาน: รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีประกันภัย อาทิเช่น รายงานการเกิดเหตุ, รายละเอียดความเสียหาย, และหลักฐานที่สนับสนุนความเสียหาย 3.สืบสวนและต่อรอง: ขอให้บริษัทประกันภัยสืบสวนเหตุการณ์และความเสียหาย หากสามารถตกลงกันได้ อาจไม่ต้องเปิดคดีฟ้อง 4.ยื่นฟ้องคดี: หากไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องคดีประกันภัยต่อศาล และปฏิบัติตามขั้นตอนการฟ้องที่กำหนด 5.การพิจารณาคดี: ซึ่งเป็นกระบวนตามขั้นตอนที่ศาลกำหนดและนำไปสู่กระบวนการตัดสิน ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่ มีคำพิพากษาศาลฎีกาวางหลักไว้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่...

ย้ายทะเบียนบ้านเพื่อเลี่ยงการถูกฟ้องคดีได้หรือไม่

ย้ายทะเบียนบ้านเพื่อเลี่ยงการถูกฟ้อง จะเลี่ยงพ้นหรือไม่ มาดูแนวคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้ดังนี้ 1.แม้จำเลยที่ 2 มีบ้านพักอาศัยอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีและได้แจ้งย้ายออกจากบ้านหลังดังกล่าวแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้แจ้งย้ายเข้าที่ใด 2.แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 41 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี 3.แต่จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ธ. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ที่ทำการบริษัทดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานที่สำคัญอันเป็นถิ่นที่อยู่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 37...

กฎหมายจราจรใหม่ที่ควรรู้…!!!

กฎหมายจราจรใหม่ ตั้งแต่วันที่ 20 กย.62 เป็นต้นไป.. เมื่อตำรวจพบเห็นการกระทำความผิดฐาน เช่น ฝ่าไฟแดง, ห้ามแซง, ห้ามจอด, ขับเร็วเกิน, ไม่รัดเข็มขัดฯ, รถมีสภาพไม่เรียบร้อย ตำรวจจราจรจึงมีอำนาจเรียกให้หยุด.. เพื่อจับได้.. เมื่อจับแล้ว จะแค่ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปก็ได้.. หรือจับแล้ว จะออกใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับก็ได้..แต่ตำรวจจราจรไม่มีอำนาจยึดใบขับขี่ไว้เพื่อให้ไปเสียค่าปรับ..(ม.140) ...

STAY CONNECTED

22,316FansLike
2,504FollowersFollow
14,700SubscribersSubscribe

FEATURED

MOST POPULAR

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความที่เกี่ยวกับกฎหมายประกันภัยมีอะไรบ้าง

0
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความที่เกี่ยวกับกฎหมายประกันภัยมีอะไรบ้าง บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐  อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน   มาตรา ๘๕๒   ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน   การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐  มีผลทำให้ข้อพิพาทเดิมที่อยู่ก่อนการทำสัญญาประนีประนอมความระงับสิ้นไป และตามมาตรา๘๕๒  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายที่ได้สละไปนั้นได้ระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่กำหนดไว้ ผู้รับประกันภัยยินยอมให้ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ทำละเมิด ทำสัญญาประนีประนอมกับผู้เสียหาย แม้ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยจะเปลี่ยนแปลงไปมูลหนี้ละเมิดเป็นมูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่ความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่มีต่อผู้เอาประกันภัยยังคงมีอยู่ กรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้กระทำละเมิดแล้ว  แต่ผู้กระทำละเมิดไม่ได้ชำระเงินให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยยังไม่ระงับไป แต่ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ปรากฎสัญญาประนีแระนอมยอมความนั้น กรณีที่ผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้กระทำละเมิดทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายก็ทำให้ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลที่เสียหายเปลี่ยนแปลงไปจากมูลหนี้ละเมิดเป็นมูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ...

LATEST REVIEWS

ประสาทหูทั้งสองข้างเสียหาย ถือเป็นการทุพลภาพถาวรหรือไม่

0
ประสาทหูทั้งสองข้างเสียหาย ถือเป็นการทุพลภาพถาวรหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญาประกันชีวิต และ สัญญา พิเศษเพิ่มเติม ประกัน อุบัติเหตุ และ ทุพพลภาพ ไว้ กับ จำเลย โดย มี เงื่อนไข ว่าจำเลย จะ จ่าย...

การตกลงระงับข้อพิพาทรถชนในบันทึกประจำวัน สามารถทำได้หรือไม่

0
การตกลงระงับข้อพิพาทรถชนในบันทึกประจำวัน สามารถทำได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2540 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขับรถโดยสารประจำทางไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถยนต์ที่โจทก์ขับมาเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน 11,308.16 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 10,550 บาท...

LATEST ARTICLES