ตกลงในบันทึกประจำวัน ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใดต่อกันฟ้องได้หรือไม่

0

ตกลงในบันทึกประจำวัน ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใดต่อกันฟ้องได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2557 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 107,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 103,110 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บน 7290 นครปฐม ไว้จากนายธนัฐ จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งหมายเลขทะเบียน ข - 9350 นครปฐม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 เวลา 15.40 นาฬิกา ขณะที่นายชาญศิลป์ ขับรถยนต์กระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้จากอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มาตามถนนสายศาลายา - บางภาษี เมื่อถึงที่เกิดเหตุบริเวณทางแยกเข้าสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ได้เฉี่ยวชนกับรถยนต์เก๋งหมายเลขทะเบียน ข - 9350 นครปฐมซึ่งจำเลยขับออกจากสถานีบริการน้ำมัน เพื่อจะเลี้ยวกลับรถไปในช่องเดินรถฝั่งตรงข้ามเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย นายชาญศิลป์กับนายขวัญชัย ซึ่งนั่งมาในรถยนต์กระบะได้รับบาดเจ็บ หลังเกิดเหตุร้อยตำรวจเอกแดน พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับนายชาญศิลป์และจำเลยคนละ 500 บาท และทำบันทึกข้อตกลงไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า ทั้งนายชาญศิลป์และจำเลยต่างไม่ติดใจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีซึ่งกันและกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี โจทก์นำรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ไปซ่อมเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อม ค่ารถยก...

ปัญหาอำนาจฟ้องในคดีละเมิด เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือไม่

0

ปัญหาอำนาจฟ้องในคดีละเมิด เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558 คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันมากับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 849/2538 ของศาลชั้นต้น แต่คดีดังกล่าวต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 คงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้โจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยใช้เงินแก่โจทก์ 268,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 250,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะใช้เงินแก่โจทก์ครบถ้วน จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 7,000 บาท แทนจำเลย โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์รับประกันภัยรถบรรทุกหกล้อหมายเลขทะเบียน 80 - 8764 นครสวรรค์ ไว้จากบริษัทเสริมสุข จำกัด มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 ตามตารางกรมธรรม์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2537 เวลาประมาณ 8.45...

ขับแซงในระยะกระชั้นชิด การพิจารณาความประมาท ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ขับแซงในระยะกระชั้นชิด การพิจารณาความประมาท ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558 คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันมากับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 849/2538 ของศาลชั้นต้น แต่คดีดังกล่าวต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 คงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินแก่โจทก์ 268,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 250,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะใช้เงินแก่โจทก์ครบถ้วน จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 7,000 บาท แทนจำเลย โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์รับประกันภัยรถบรรทุกหกล้อหมายเลขทะเบียน 80 - 8764 นครสวรรค์ ไว้จากบริษัทเสริมสุข จำกัด มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2537 เวลาประมาณ 8.45 นาฬิกา...

การกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย

0

การกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2558 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 17,347.19 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 16,245.60 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 62,137.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2554 ซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงิน 16,046.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องและฟ้องแย้งให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่านายไพบูลย์ ผู้ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้และจำเลยขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยกพร้อมกันโดยไม่มีการลดความเร็วลง เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทของทั้งสองฝ่าย พฤติการณ์ถือได้ว่าประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์เสียหายเป็นเงิน 16,245 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดกึ่งหนึ่ง ส่วนจำเลยเสียหายรวมเป็นเงิน 48,337.50 บาท นายไพบูลย์จึงต้องรับผิดกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 24,168.75 บาท เมื่อหักกลบกันแล้วนายไพบูลย์ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 16,046.25 บาท โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนของฟ้องจึงยุติไป...

ฟ้องเรียกค่าซ่อม อ้างอิงจากราคาประเมินได้หรือไม่

0

ฟ้องเรียกค่าซ่อม อ้างอิงจากราคาประเมินได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9489/2558 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังนี้ ก. ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องนำรถโดยสารไปซ่อมคิดเป็นเงินทั้งสิ้นตามบัญชีใบประเมินราคาการซ่อม 284,862.14 บาท ซึ่งปรากฏตามภาพถ่ายความเสียหายของรถท้ายฟ้องหมายเลข 2 และใบประเมินราคา ข. ค่าขาดรายได้จากการขับรถโดยสารเดือนละ 12,000 บาท กับค่าเช่าซื้อรถโดยสารเดือนละ 7,300 บาท นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องขอคิดเพียง 15 เดือน คิดเป็นเงิน 289,500 บาท และ ค. ค่าเสื่อมราคารถโดยสาร 80,000 บาท รวม 654,362.14 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 654,362 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัทอาร์.เอส.ที. อินเตอร์ทรานส์จำกัด และบริษัทคูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เข้าเป็นจำเลยร่วม โดยแสดงเหตุว่าบริษัทอาร์.เอส.ที.อินเตอร์ทรานส์ จำกัด เป็นนายจ้างของจำเลยซึ่งขับรถบรรทุกไปในทางการที่จ้าง และบริษัทคูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต โดยให้เรียกว่าจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ จำเลยร่วมที่...

สิทธิเรียกค่าเสียหายเบื้องต้น ของทายาทผู้ตาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

สิทธิเรียกค่าเสียหายเบื้องต้น ของทายาทผู้ตาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13191/2558 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 103,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 65,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันที่ 14 กันยายน 2550 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นบุตรของนายมณเฑียร ผู้ตาย จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน ษจ 2568 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2549 ถึงวันที่...

ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2561 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 124,840 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น จำเลยให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งและแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และยกฟ้องแย้งของจำเลยค่าฤชาธรรมเนียมตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า นายบุญสาร บิดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียน บง 6872 อำนาจเจริญ ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวไปตามถนนสายอำเภอกว้านใหญ่ - อำเภอเมืองมุกดาหาร จากด้านอำเภอกว้านใหญ่มุ่งหน้าไปอำเภอเมืองมุกดาหาร ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมรถยนต์และค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์จะเป็นบุตรของนายบุญสาร เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ หมายเลขทะเบียน บง 6872 อำนาจเจริญ และเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าว และไม่มีกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อนายบุญสารซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเหตุรถยนต์ชนโคของจำเลย แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ทำละเมิดและโจทก์นำรถยนต์ไปซ่อมและเสียค่าซ่อมรถยนต์แล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้รับความเสียหายในส่วนของค่าซ่อมดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมรถยนต์ สำหรับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุนั้น ถึงแม้โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันเกิดเหตุแต่โจทก์นำรถยนต์ดังกล่าวมาใช้ประกอบอาชีพทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองใช้สอยประโยชน์จากรถยนต์ เมื่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้ครอบครองใช้สอยประโยชน์จากรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายจากเหตุละเมิด โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยได้ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการต่อไปมีว่า จำเลยประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียวหรือไม่ เห็นว่า ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางว้น ถนนที่เกิดเหตุเป็นทางตรง หากโจทก์ขับรถด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึงแม้จะมีโควิ่งตัดหน้า ระยะที่โจทก์จะมองเห็นโคได้คงไม่ใช่เพียง...

สิทธิร้องขอค่าขาดไร้อุปการะของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

สิทธิร้องขอค่าขาดไร้อุปการะของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 402,795.40 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 304,562.40 บาท ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ 23,847 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมควร ผู้ตาย จำเลยที่ 2 รับประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 ระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ในส่วนของประกันภัยภาคบังคับ จำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต...

อำนาจพักใช้ใบอนุญาต ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

อำนาจพักใช้ใบอนุญาต ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2563 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 300, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157, 160 ตรี พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 42, 64 และขอให้เพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว (ที่ถูก ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวฉบับที่ 60007701) ของจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 ตรี วรรคสาม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 42 (ที่ถูก 42 วรรคหนึ่ง), 64 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานขับรถในขณะเมาสุรา ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กาย และฐานขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90...

การเป็นผู้เสียหายในความผิด ขับรถโดยเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลมีจุดวินิจฉัยอย่างไร

0

การเป็นผู้เสียหายในความผิด ขับรถโดยเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลมีจุดวินิจฉัยอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2565 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160, 160 ตรี และเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาขับรถในขณะเมาสุรา ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา นางสุรีย์ ภริยาของผู้ตาย นางฉลวย มารดาของผู้ตาย และนางระพีพรรณ บุตรของผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องทั้งสามเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่อนุญาต โดยให้เรียกนางสุรีย์ว่า โจทก์ร่วมที่ 1 นางฉลวยว่า โจทก์ร่วมที่ 2 และนางระพีพรรณว่า โจทก์ร่วมที่ 3 และโจทก์ร่วมทั้งสามยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 2,048,056.13 บาท จำเลยให้การในส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) (4), 78, 157, 160 (ที่ถูก 160...