ทำบันทึกข้อตกลงยอมความที่สถานีตำรวจ สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้อีกหรือไม่

0

ทำบันทึกข้อตกลงยอมความที่สถานีตำรวจ สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้อีกหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2563 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 จำเลยให้การรับสารภาพ ระหว่างพิจารณา นาย ป. โดยนางสาว ห. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายสุริยาผู้ตายรับรองว่าเป็นบุตรยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ 63,580 บาท ค่ารักษาพยาบาล 17,453 บาท และค่าขาดไร้อุปการะปีละ 150,000 บาท จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็นเวลา 4 ปี เป็นเงิน 600,000 บาท รวมเป็นเงิน 681,033 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องที่ 1 และนางสงบ ผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นมารดานายอดิเทพผู้ตายยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ 120,790 บาท และค่าขาดไร้อุปการะปีละ 50,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี เป็นเงิน 750,000 บาท รวมเป็นเงิน 870,790 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี...

สิทธิในการอุทธรณ์ค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

สิทธิในการอุทธรณ์ค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา: ความสำคัญและความเข้าใจ ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทั้งผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา ทั้งสองฝ่ายต้องมีความเข้าใจถึงขั้นตอนและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา โดยเริ่มจากความหมายและวัตถุประสงค์ ตามด้วยวิธีการคำนวณ และปัจจัยที่ควรพิจารณา ความหมายของค่าสินไหมทดแทน ค่าสินไหมทดแทนคือการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหา การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนี้สามารถมาจากการตัดสินคดีอาญาหรือคำสั่งของศาล ความเสียหายที่ถูกชดใช้นั้นอาจรวมถึงทรัพย์สินหรือสิ่งของที่ถูกปล้น ค่าเสียหายต่ออาชีพหรือชื่อเสียง ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ และค่าความทุกข์ทรมานใจ วัตถุประสงค์ของค่าสินไหมทดแทน วัตถุประสงค์ของค่าสินไหมทดแทนก็คือ การเยียวยาผู้เสียหายโดยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย โดยคำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8725/2563 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 92, 288 และเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ระหว่างพิจารณา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล 79,445 บาท ค่าขาดรายได้ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพการงานได้ในระหว่างรักษาตัวและพักฟื้นร่างกาย 7 เดือน เดือนละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 700,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลในภายหลัง 120,000 บาท รวมค่าเสียหาย 899,445 บาท จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม เนื่องจากโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายก่อเหตุด่าว่าท้าทายจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยบันดาลโทสะ และค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ร่วมเรียกมานั้น สูงเกินส่วน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและยกคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) (เดิม) ให้จำคุก 6 เดือน เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา...

วิธีคำนวณค่าเสียหายจากราคาและค่าเสื่อมรถยนต์ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร

0

วิธีคำนวณค่าเสียหายจากราคาและค่าเสื่อมรถยนต์ ศาลฎีกาวางหลักไว้อย่างไร ค่าเสื่อมรถยนต์จากอุบัติเหตุ ค่าเสื่อมรถยนต์หลังจากเกิดอุบัติเหตุเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ประกันและเจ้าของรถยนต์ต้องพิจารณา เมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุและได้รับความเสียหาย การประเมินความเสียหายและค่าเสื่อมของรถยนต์สามารถช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการซ่อมแซมหรือการเปลี่ยนรถยนต์ใหม่ ในบทความนี้ เราจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อค่าเสื่อมรถยนต์หลังจากเกิดอุบัติเหตุ 1.ระดับความเสียหายของรถยนต์: ความเสียหายจากอุบัติเหตุอาจส่งผลต่อค่าเสื่อมรถยนต์อย่างมาก รถยนต์ที่ได้รับความเสียหายมากอาจมีค่าเสื่อมสูงกว่ารถยนต์ที่ได้รับความเสียหายน้อย ความเสียหายที่ร้ายแรงอาจทำให้รถยนต์ถือเป็นรถยนต์เสียหายร้ายแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าเสื่อมอย่างรุนแรง 2.ยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์: ยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์มีความสำคัญในการคำนวณค่าเสื่อมรถยนต์หลังจากอุบัติเหตุ บางยี่ห้อและรุ่นอาจมีอัตราค่าเสื่อมที่ต่ำกว่ายี่ห้อและรุ่นอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อมูลค่าที่เหลือของรถ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2559 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 1,532,584 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และชำระค่าขาดประโยชน์วันละ 2,500 บาท นับแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2553 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 3 ชำระเงินค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 290,000 บาท โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 3 จากสารบบความ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 977,084 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2553 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ...

Seeking Damages in a Car Accident Lawsuit

0

Seeking Damages in a Car Accident Lawsuit Introduction Car accidents are unfortunate events that can cause physical, emotional, and financial hardships for those involved. When a car accident occurs due to the negligence or carelessness of another driver, the victim may be entitled to compensation for the damages incurred. In this article, we will discuss the process of filing a car...

ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่

0

ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่ การฟ้องคดีประกันภัยเป็นกระบวนการที่ผู้เสียหายจากเหตุอุบัติเหตุ การเสียชีวิต หรือความเสียหายอื่นๆ สามารถยื่นฟ้องต่อบริษัทประกันภัยเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทน หากบริษัทประกันภัยไม่ยินยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ์หรือเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย การฟ้องคดีประกันภัยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้: 1.พิจารณาสิทธิ์ฟ้อง: ตรวจสอบสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย และตรวจสอบว่ามีข้อยุติหรือไม่ 2.เตรียมเอกสารและหลักฐาน: รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีประกันภัย อาทิเช่น รายงานการเกิดเหตุ, รายละเอียดความเสียหาย, และหลักฐานที่สนับสนุนความเสียหาย 3.สืบสวนและต่อรอง: ขอให้บริษัทประกันภัยสืบสวนเหตุการณ์และความเสียหาย หากสามารถตกลงกันได้ อาจไม่ต้องเปิดคดีฟ้อง 4.ยื่นฟ้องคดี: หากไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องคดีประกันภัยต่อศาล และปฏิบัติตามขั้นตอนการฟ้องที่กำหนด 5.การพิจารณาคดี: ซึ่งเป็นกระบวนตามขั้นตอนที่ศาลกำหนดและนำไปสู่กระบวนการตัดสิน ค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระ สามารถฟ้องเรียกได้หรือไม่ มีคำพิพากษาศาลฎีกาวางหลักไว้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2565 แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างคนต่างขับรถโดยประมาท แต่ความประมาทของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้อันมิอาจแบ่งแยกจากกันได้ จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยร่วมเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล 14,631 บาท แก่โจทก์แล้ว จึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 โจทก์มิอาจเรียกค่ารักษาพยาบาลจำนวนเดียวกันนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกเพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันค่าใช้จ่ายของญาติผู้ตายที่เดินทางมาช่วยจัดการศพ และค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมลอยอังคารและทำบุญถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ นอกเหนือไปจากค่าปลงศพ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา...

อายุความประกันภัยค้ำจุน มีอายุความกี่ปี

0

อายุความประกันภัยค้ำจุน มีอายุความกี่ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกเล็ก ได้ขับรถชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกลายเป็นคนพิการ จึงขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งที่โจทก์ต้องเสียไปแล้วและที่จะต้องเสียต่อไปในอนาคตเป็นเวลา 5 ปี   จำเลยทั้งสองให้การว่า เหตุที่เกิดรถชนไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง   ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คือ ค่ารถแท็กซี่ที่ภริยาโจทก์ต้องไปดูแลโจทก์ที่โรงพยาบาลเป็นเงิน 2,250 บาท ค่าจ้างคนดูแล 5,000 บาท ค่ายาและค่านวด 750 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท   โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปแล้ว และให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีกด้วย   ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็น 1,750 บาท และให้จำเลยร่วมกันจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีก 5,000 บาทแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น   โจทก์ฎีกาขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลให้อีก   จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์ให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลเป็น 1,750 บาทนั้น เกินสมควร และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายในอนาคต   ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่กรรม   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่ารักษาพยาบาลก่อนฟ้องเป็นเงิน 1,750 บาทนั้นน้อยเกินไป ควรกำหนดให้ 2,500 บาท ส่วนปัญหาเรื่องโจทก์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลในอนาคตหรือไม่นั้น เห็นว่าหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ร่างกายโจทก์ยังพิการ เดินไปไหนมาไหนไม่ได้ แขนขวาเป็นอัมพาต ต้องนอนอยู่กับเตียง อันเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดขับรถชนโจทก์ตามลักษณะเห็นได้ว่าร่างกายโจทก์ต้องพิการและเป็นอัมพาตไปตลอดชีวิต...

ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลในอนาคต แต่ตายก่อนกำหนด ต้องรับผิดเพียงใด

0

ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลในอนาคต แต่ตายก่อนกำหนด ต้องรับผิดเพียงใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2521 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกเล็ก ได้ขับรถชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกลายเป็นคนพิการ จึงขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งที่โจทก์ต้องเสียไปแล้วและที่จะต้องเสียต่อไปในอนาคตเป็นเวลา 5 ปี   จำเลยทั้งสองให้การว่า เหตุที่เกิดรถชนไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง   ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คือ ค่ารถแท็กซี่ที่ภริยาโจทก์ต้องไปดูแลโจทก์ที่โรงพยาบาลเป็นเงิน 2,250 บาท ค่าจ้างคนดูแล 5,000 บาท ค่ายาและค่านวด 750 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท   โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปแล้ว และให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีกด้วย   ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็น 1,750 บาท และให้จำเลยร่วมกันจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในอนาคตอีก 5,000 บาทแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น   โจทก์ฎีกาขอให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลให้อีก   จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์ให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลเป็น 1,750 บาทนั้น เกินสมควร และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายในอนาคต   ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่กรรม   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่ารักษาพยาบาลก่อนฟ้องเป็นเงิน 1,750 บาทนั้นน้อยเกินไป ควรกำหนดให้ 2,500 บาท ส่วนปัญหาเรื่องโจทก์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลในอนาคตหรือไม่นั้น เห็นว่าหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ร่างกายโจทก์ยังพิการ เดินไปไหนมาไหนไม่ได้ แขนขวาเป็นอัมพาต ต้องนอนอยู่กับเตียง อันเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1...

อายุความฟ้องไล่เบี้ยจากลูกจ้าง ที่นายจ้างชดใช้แทน มีอายุความกี่ปี

0

อายุความฟ้องไล่เบี้ยจากลูกจ้าง ที่นายจ้างชดใช้แทน มีอายุความกี่ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 จำเลยได้ขับรถโดยสารประจำทางของโจทก์ไปในทางการที่จ้างด้วยความเร็วสูงพุ่งชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ช.บ. 43324 ด้วยความประมาท ทำให้รถยนต์คันดังกล่าวและรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิด โจทก์ในฐานะนายจ้างจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยเป็นค่าซ่อมรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ช.บ. 43324ให้แก่บริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันนี้ เป็นเงิน 26,500 บาท กับค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์เป็นเงิน 24,500 บาท ที่จ่ายให้แก่บริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัดรวมเป็นเงิน 51,000 บาท โดยจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยและได้หักค่าจ้าง 1,300บาท คงเหลือหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์อีก 49,700 บาทโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ขอให้พิพากษาบังคับจำเลยชำระเงิน49,700 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืน โจทก์จำเลยไม่ได้พิพาทกันเรื่องแรงงาน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 จนถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 11 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจำเลยไม่ได้ขับรถโดยประมาทเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย ค่าซ่อมแซมรถโจทก์ไม่เกิน3,000 บาท ค่าซ่อมแซมรถคู่กรณีไม่เกิน 5,000 บาท ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์เมื่อใด เกิดเหตุรถชนกันอย่างไร เป็นฟ้องเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง วันนัดพิจารณา...

เพื่อนยืมรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ ผู้ให้ยืมไปดูที่สถานีตำรวจ ถือว่าได้รับรถคืนหรือไม่

0

เพื่อนยืมรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ ผู้ให้ยืมไปดูที่สถานีตำรวจ ถือว่าได้รับรถคืนหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2522 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์ในสภาพเรียบร้อยถ้าส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 50,000 บาท ให้ใช้ค่าเสียหายวันละ 80 บาท จำเลยฎีกา   ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ปัญหาตามฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ได้ยืมรถจากโจทก์นั้น เห็นว่านายกล้วยไม้ ศรีดารณพ พยานโจทก์เบิกความยืนยันประกอบคำเบิกความของโจทก์ว่า จำเลยให้นายกล้วยไม้มายืมรถยนต์เพื่อเป็นพาหนะเดินทางไปทอดผ้าป่า นายกล้วยไม้ได้ติดต่อขอยืมรถจากโจทก์ และพาโจทก์ไปพบจำเลย เมื่อพบกันแล้วจำเลยได้พูดขอยืมรถจากโจทก์ คำเบิกความของโจทก์และนายกล้วยไม้ จำเลยก็รับอยู่ว่าจำเลยให้เงินนายกล้วยไม้ไปเติมน้ำมันรถในการเดินทาง เมื่อรถชนกันมีคนได้รับบาดเจ็บ จำเลยก็ช่วยค่ารักษาพยาบาลให้เหตุดังกล่าวประกอบข้ออ้างของโจทก์ให้มีน้ำหนักกว่าข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งมีแต่คำเบิกความของจำเลยแต่ผู้เดียว ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองที่ฟังว่าจำเลยยืมรถจากโจทก์ไปจริง   ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่ารถของโจทก์ที่จำเลยยืมไปเกิดบุบสลายเพราะความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 214 นั้น เห็นว่า การยืมใช้คงรูปผู้ยืมมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อได้ใช้สอยเสร็จ ตามมาตรา 640 หากจำเลยมีข้ออ้างว่าไม่ต้องคืนรถและใช้ค่าเสียหาย เพราะรถของโจทก์เกิดชนกับรถอื่นโดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายจำเลย อันเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 214 จำเลยก็ต้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้และนำสืบให้ฟังได้ หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างและนำสืบดังจำเลยฎีกาไม่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า รถของโจทก์ที่จำเลยยืมไปเกิดชนกับรถอื่นโดยจำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิด ทั้งในชั้นพิจารณาก็ไม่มีการนำสืบกันถึงเหตุที่รถชนกันแต่ประการใด จำเลยในฐานะผู้ยืมจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยต้องคืนรถและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำพิพากษาฎีกาที่ 534/2506 และที่ 2424-2426/2520ที่จำเลยอ้าง ข้อเท็จจริงไม่เหมือนกับคดีนี้   ฎีกาจำเลยที่ว่า ศาลล่างกำหนดราคารถและค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์สูงเกินไปนั้น ได้ความว่าโจทก์เช่าซื้อรถมาในราคา 69,780 บาท โจทก์ใช้รถได้ 1 ปีเศษ ก็เกิดเหตุคดีนี้ โจทก์เบิกความว่าขณะนั้นรถของโจทก์จะขายได้ในราคา 50,000...

ร้องสอดให้มาเป็นจำเลยร่วม เมื่อพ้นกำหนดอายุความในคดีละเมิด สามารถทำได้หรือไม่

0

ร้องสอดให้มาเป็นจำเลยร่วม เมื่อพ้นกำหนดอายุความในคดีละเมิด สามารถทำได้หรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2525 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาแต่มูลละเมิดรถยนต์ชนกันในฐานะเป็นนายจ้าง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 135,150 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ   จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยมิได้เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ชนกับรถโจทก์ และมิได้เป็นนายจ้างของผู้ขับขี่รถยนต์คันที่ชนกับรถยนต์ของโจทก์เหตุที่เกิดรถชนกันเป็นเพราะความประมาทของคนขับรถยนต์ของโจทก์ โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายมากเกินไป ขอให้ยกฟ้อง   ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัดทวีแสงพืชผลเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต   จำเลยร่วมให้การว่า รถยนต์คันที่ชนกับรถยนต์ของโจทก์เป็นของจำเลยร่วม คดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่มีการกระทำละเมิดเหตุที่รถชนกันเป็นเพราะความประมาทของลูกจ้างโจทก์ ค่าเสียหายโจทก์เรียกร้องมากเกินไป   ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า รถยนต์คันที่ชนรถยนต์ของโจทก์เป็นของจำเลยร่วมรวมทั้งคนขับก็เป็นลูกจ้างของจำเลยร่วม แต่โจทก์ขอให้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเกินกว่า 1 ปีนับแต่วันละเมิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยและจำเลยร่วม โดยกำหนดค่าทนายความ สำหรับจำเลย 600 บาท และจำเลยร่วม 600 บาท   โจทก์อุทธรณ์   ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ   โจทก์ฎีกา   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์รู้ตัวจำเลยร่วมผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่มีการละเมิดนั้นเอง แต่โจทก์เพิ่งขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2522 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยร่วม จึงเป็นอันขาดอายุความฟ้องร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิด ก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสำหรับจำเลยร่วมสะดุดอยู่หรือสะดุดหยุดลงแต่อย่างใดไม่ เพราะกำหนดอายุความย่อมเป็นไปเพื่อเป็นคุณและโทษแก่ลูกหนี้แต่ละคนโดยเฉพาะ และวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิด แม้โจทก์จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก็ต้องถือตามคำฟ้องเริ่มต้นคดีเพราะจำเลยร่วมมีสิทธิเท่ากับจำเลยเท่านั้นโดยวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมเข้ามาในคีดนี้โดยถูกหมายเรียกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง...